ข่าวของการเตรียมขึ้นทะเบียนอุทยานประวัติศาสตร์ หรือเมืองโบราณศรีเทพ ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ของไทย เป็นมรดกโลกแห่งใหม่ โดย UNESCO ได้รับความสนใจจากคนไทยอย่างล้นหลาม ไม่ใช่เพียงแค่เป็นเรื่องที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับคนไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นการเริ่มต้นของประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ที่รอการเปิดเผย จากการขุดค้นที่มากขึ้นในอนาคต ที่อาจจะสามารถย้อนเวลากลับไปได้ ถึงมากกว่า 2,000 ปี ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง ก็คือการเป็นหลักฐานชั้นดี ในการหยุดยั้งการอ้างสิทธิ์ของชาวเขมร ที่มีต่อศิลปวัฒนธรรม และงานสถาปัตยกรรมของไทย ด้วยการอ้างอิงความเก่าแก่ของนครวัด ที่มีอายุยาวนานกว่ากรุงสุโขทัย แม้ว่าในทางปฏิบัติ ชาวเขมรกลุ่มนี้ จะยังเดินหน้าทำในสิ่งที่ตัวเองถนัด และไม่ยอมรับความจริงก็ตาม คลิปนี้ เราจึงขอนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเมืองศรีเทพ ที่คนไทยควรจะต้องทราบ ในทางตรงกันข้าม มันคือสิ่งที่ชาวเขมร ไม่อยากจะรับรู้
จะว่าไปแล้ว ทุกอย่างแทบจะมาถึงข้อสรุป ตั้งแต่การทราบถึงความเก่าแก่ของเมืองศรีเทพ และอายุของโบราณสถาน โบราณวัตถุที่ถูกค้นพบ เพราะศิลปและสถาปัตยกรรมของศรีเทพ เกิดขึ้นก่อนการกำเนิดขึ้น ของอาณาจักรขอมหลายร้อยปี แต่เพื่อทำให้การให้เหตุผลของคนไทย มีน้ำหนักมากขึ้น เราคิดว่า จำเป็นที่จะต้องทำการสรุปเนื้อหา สาระสำคัญ ที่มุ่งเน้นไปในการให้เหตุผล และข้อเท็จจริงกับชาวเขมร หรือแม้แต่การให้ข้อมูลกับชาวต่างชาติ เกี่ยวกับการเป็นเจ้าของศิลปวัฒนธรรมของไทยมาตั้งแต่ต้น นอกจากนั้นแล้ว เราจะมาคลายข้อสงสัยที่ว่า ทำไมสิ่งก่อสร้างบางอย่างในเมืองศรีเทพ จึงดูคล้ายศิลปะขอมโบราณ ที่ชาวเขมรบางคน พยายามใช้จุดนี้ ในการทำลายความชอบธรรมของไทย
หลายคนอาจจะแปลกใจว่า ที่ผ่านมา คนไทยส่วนใหญ่ ไม่ทราบถึงการมีตัวตนของเมืองโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายแห่งนี้ แม้ว่าจะมีการค้นพบ มานานมากกว่า 100 ปีก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติ เพิ่งมีการขุดค้นอย่างจริงจัง เมื่อราว 15 ปีที่ผ่านมานี่เอง โดยเฉพาะเขาคลังนอก โบราณสถานสำคัญ ที่มีการวางผังแบบจักรวาลมณฑล ตามศาสนาพุทธนิกายมหายาน ได้ถูกขุดค้นในปี พศ 2551 จากเดิมที่เป็นเป็นเพียงเนินดิน หรือภูเขาย่อมๆ ที่มีขนาดราว 100×100 เมตร โดยตัวฐานมีความกว้าง 64×64 เมตร ซึ่งในขณะนั้น มีโครงสร้างบางส่วนโผล่ออกมาให้เห็น โดยฐานทำจากศิลาแลง ในขณะที่ส่วนบน ก่อขึ้นด้วยอิฐ ซึ่งต่างจากสถาปัตยกรรม ในสมัยทวาราวดีส่วนใหญ่ ที่ใช้ก้อนอิฐเป็นส่วนประกอบหลักในการก่อสร้าง