ประมวลภาพประทับใจ สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณฯ กับ พระองค์หริภา พระธิดาองค์โต

วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ.2561 เวลา 16.10 น. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จออกพร้อมด้วย พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ รองประธานกรรมการฯ ณ ห้องประชุมทุ่งศรีเมือง โรงแรมเซนทารา โฮเทล แอนด์ คอนเวชั่น เซนเตอร์ อุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ทรงเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการ สัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระ

ปณิธานฯ ครั้งที่ 3/2561 เพื่อทรงติดตามผลการดำเนินงานตามแผนรวม 8 ยุทธศาสตร์ อาทิ “ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์” โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 17 เมษายน 2561 พบการเกิดโรคฯ ในพื้นที่ 47 จังหวัด 750 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 15.8 จากตัวอย่างทั้งหมด 4,748 ตัวอย่าง พบสูงสุดที่จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดที่พบโรคมากที่สุด ได้แก่ ร้อยเอ็ด สงขลา ยโสธร นครราชสีมา ศรีสะเกษ กาฬสินธุ์

อำนาจเจริญ มหาสารคาม และสตูล โดยสัตว์ที่ตรวจพบโรคมากที่สุด คือ สุนัข โค และแมว พบผลตรวจในสุนัขและแมวที่มีเจ้าของ ร้อยละ 56.41 และพบว่าสุนัขและแมวไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ร้อยละ 44.73 โดยกรมปศุสัตว์ได้มีมาตรการเร่งรัดกำจัดโรคพิษสุนัขบ้า มีการประกาศเขตโรคระบาดชั่วคราวในพื้นที่ตรวจพบโรคพิษสุนัขบ้า พร้อมจัดตั้งเวทีประชาคมหมู่บ้านหรือชุมชน ตามกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อจัดทำข้อตกลงร่วมกันแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อสำรวจและขึ้นทะเบียนสุนัขและแมวพื้นที่รัศมี 5 กิโลเมตรรอบจุดเกิดโรค รวมถึงให้ความรู้แก่อาสาสมัครเพิ่มเติม และฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้แก่สุนัขและแมวทุกตัวในรัศมี 5 กิโลเมตร ให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน

หลังตรวจพบโรค, “ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม และดูแลรักษาโรคพิษสุนัขบ้าในคน” พบว่าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 17 เมษายน 2561 มีผู้เสียชีวิต 7 คน จาก 7 จังหวัด ได้แก่ สุรินทร์ สงขลา ตรัง นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ บุรีรัมย์ และพัทลุง โดย 6 คน จากการสัมผัสสุนัข และ 1 คน ถูกแมวกัด ซึ่งผู้เสียชีวิตทั้งหมดไม่ได้ไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า โดยกระทรวงสาธารณสุขได้เน้นมาตรการป้องกันการถูกสัตว์กัด ข่วน

และเลียผิวหนังที่มีบาดแผล ตลอดจนติดตามผู้สัมผัสกับสัตว์สงสัยเป็นโรค ให้เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันให้ครบทุกราย ซึ่งตามข้อมูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นล่าสุด รายงานข้อมูลสุนัขและแมวทั่วประเทศ มี 9.1 ล้านตัว สำหรับข้อควรปฏิบัติของผู้ที่ถูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัด ข่วน หรือเลียแผล คือ ให้รีบล้างแผล ใส่ยา หาหมอ และฉีดวัคซีนให้ครบ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *