เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2020 จรวด Atlas V พร้อมกับ Perseverance rover ภารกิจ Mars 2020 ได้ทะยานขึ้นจากฐานปล่อยขึ้นสู่วงโคจรเป็นที่เรียบร้อยแล้วและกำลังเดินทางสู่ดาวอังคารโดยกำหนดถึงดาวอังคารในวันที่ 18
กุมภาพันธ์ 2021 และแล้วยานสำรวจอวกาศ Perserverance ที่เดินทางระยะทางจากโลกไปยังดาวอังคารราว 293 ล้านไมล์ก็ได้ลงจอดสำเร็จ บริเวณที่ยานลงจอดอยู่ใกล้กับ ‘Jezero’ ซึ่งเป็นหลุมอุกกาบาตที่มีความกว้าง 49
กิโลเมตร และอยู่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตรของดาวอังคาร อีกทั้งยังเคยเป็นทะเลสาบที่มีทางน้ำไหล เมื่อราว 3,500 ล้านปีที่แล้ว โดยนาซ่าคาดว่าบริเวณดังกล่าวน่าจะเป็นพื้นที่ที่เคยมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ นอกจากนี้ เฮลิคอปเตอร์ขนาดเล็กที่ชื่อ “อินเจนูอิตี” (Ingenuity) ก็ได้เดินทางไปพร้อมกันในภารกิจนี้ และได้ส่งภาพถ่ายมุมสูงกลับมาให้ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษากันด้วย
จากข้อมูลในการสำรวจในปัจจุบันพบว่า เมื่อ 4,500 ล้านปีก่อน ดาวอังคารเคยมีชั้นบรรยากาศที่ประกอบไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปกคลุมหนาแน่นเท่ากับชั้นบรรยากาศของโลก และมีอุณหภูมิพื้นผิวอุ่นกว่า จึงทำให้น้ำ
สามารถคงอยู่ในสถานะของเหลว และทำให้ดาวแห่งนี้มีมหาสมุทรอยู่ แต่วันนี้มหาสมุทรแห่งนั้น คงเหลือเพียงความทรงจำ นักวิทยาศาสตร์ได้อธิบายเกี่ยวกีบเรื่องนี้ว่า ดาวอังคารได้เกิดการสูญเสีย
สนามแม่เหล็กไป และเมื่อไม่ได้รับการป้องกันจากสนามแม่เหล็ก ทำให้ชั้นบรรยากาศดาวแดงถูกดึงแยกออก และในที่สุดมหาสมุทรก็ระเหยเป็นไอน้ำ ในชั้นบรรยากาศแล้วหายลับไปในอวกาศ ถึงอย่างนั้นสนามแม่เหล็กก็ไม่ได้สูญเสียไปทั้งหมด ปัจจุบันก็ยังมีสนามแม่เหล็กหลงเหลืออยู่เป็นหย่อม ๆ และหนทางเดียวที่จะทำให้มนุษย์ไปอยู่บนดาวอังคารได้ในตอนนี้ ก็คือการปลุกสนามแม่เหล็กให้กลับมาอีกครั้งนั่นเอง