“ผอ.ทหารผ่านศึก”เผย ความฝีน มี แผน พานักรบในลาว เมื่อกว่า50 ปี ที่แล้ว กลับบ้าน! เตรียมเดินทางไปลาวค้นหากระดูก กว่า 200นักรบไทย ที่ สละชีพ ขอแค่เจอ 1 คนจะ พิสูจน์DNA นำกลับบ้าน ทำพิธีฌาปนกิจ วัดพระศรีมหาธาตุฯ และ จารึกชื่อ ในอนุสรณ์สถานแห่งชาติ
ชี้ ทหารผ่านศึก คือ นักรบผู้เสียสละ
ยังมีตัวตนอยู่
หากไม่มีบุคคลเหล่านี้
ทุกคน คงไม่ได้มีชีวิต
ที่เป็นสุขอย่างเช่นในปัจจุบัน
ตั้ง ปณิธาน ดูแลคุณภาพชีวิตทหารผ่านศึก
จวบจนวันสุดท้ายของชีวิต
ขอเยาวชนคนรุ่นใหม่
เห็นคุณค่าความเสียสละ ให้เกียรติ
ไม่ลบหลู่ ทหารผ่านศึก
พลเอก เดชนิธิ เหลืองงามขำ ผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก (ผออผศ.) กล่าวในการเปิดกิจกรรมสื่อมวลชนสัมพันธ์ว่า ขอบคุณสื่อมวลชนที่ร่วมประชาสัมพันธ์ทุกกิจกรรมให้กับองค์การสงเคราะห์
์ทหารผ่านศึก
โดยโรงพยาบาลทหารผ่านศึก เป็น 1 ใน 6 ภารกิจหน้าที่ขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก จะเห็นได้ว่า พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ต่อทหารผ่านศึก และครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ ทรงพระราชทานก่อตั้งโรงพยาบาลทหารผ่านศึก เมื่อปี พ.ศ. 2513 เพื่อดูแลนักรบ ที่ได้รับความสูญเสียหรือพิการ จากสงครามต่าง ๆ จากสงครามโลกครั้งที่ 1 จากสมรภูมิการรบภูหินร่องกล้า ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ หรือจากสมรภูมิต่าง ๆ ทั่วประเทศ รวมทั้งดูแลครอบครัวให้ผ่านศึก และประชาชนทั่วไปด้วย
ขณะนี้ มีหน่วยดูแลทหารผ่านศึก 27 หน่วย 8 นิคมทหารผ่านศึก ดูแลทหารผ่านศึก 678,000 กว่าคนทั่วประเทศ
โดยในวันนี้ นักรบผู้พิการที่ยังคงมีชีวิตอยู่จากสมรภูมิที่ผ่านมานานที่สุด คือนักรบผู้ผ่านสมรภูมิสงครามเกาหลี 2,800 กว่าคน
ทุกวันนี้ ผมตั้งเป้าหมายและปณิธาน การทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์เพื่อดูแลนักรบทหารผ่านศึก รวมทั้งครอบครัวอย่างดีที่สุด
โดยมีการฝึกสอนทหารผ่านศึกประดิษฐ์งานฝีมือ ทั้งการแกะสลักไม้ ศิลปะประดิษฐ์ไทย – โอชิเอะ ซึ่งสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเชิญอาจารย์จากประเทศญี่ปุ่นมาถ่ายทอดความรู้และฝึกสอน ซึ่งช่วยบำบัดความเครียด ให้กับทหารผ่านศึกที่ทุพพลภาพ
และยังคงรับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาลขณะนี้จำนวน 73 ราย มีการจัดทำศูนย์อายุรวัฒน์ ซึ่งเป็นศูนย์ดูแลผู้ป่วยสูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง เพื่อเฉลิมฉลอง เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 ตั้งเป้าว่าจะมีการเพิ่มเตียงศูนย์อายุรวัฒน์ อีก 72 เตียง ด้วยงบประมาณ 52 ล้านบาท ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรม และบอกบุญในภาคเอกชนและประชาชนร่วมสมทบทุน จัดซื้อเตียงจำนวน 72 เตียงนี้ด้วย
พลเอก เดชนิธิศ กล่าวด้วยว่าทุกวันนี้มีการให้ความสำคัญกับการดูแลค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่เบิกไม่ได้จาก สปสช. รวมทั้งให้ความสำคัญกับนักรบที่ไม่ได้รับเงินบำนาญ เช่น นักรบที่เป็นพลทหารหรืออาสาสมัครทหารพราน ซึ่งความตั้งใจเหล่านี้ เกิดจากความต้องการที่จะดูแลบั้นปลายชีวิตของเหล่านักรบให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีจนวันสุดท้าย
พร้อมกล่าวด้วยว่า สิ่งที่อยากให้เน้นย้ำ คือนักรบผู้เสียสละและครอบครัวยังมีตัวตนอยู่ หากไม่มีบุคคลเหล่านี้ ทั้งที่เสียชีวิตไปแล้ว หรือยังมีชีวิตอยู่ก็ตาม
เชื่อว่าเราทุกคน คงไม่ได้มีชีวิตที่เป็นสุขอย่างเช่นในปัจจุบัน
จึงอยากฝากถึงประชาชน โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ ที่มีมุมมองและความคิดแตกต่างออกไป ให้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของความเสียสละของทหารผ่านศึก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือการไม่ลบหลู่ และให้เกียรติทหารผ่านศึก