8 สาเหตุของความล้มเหลว ‘อังกอร์สงกรานต์’ เมื่อนักท่องเที่ยวต่างชาติ เลือกไทยแบบขาดลอย

เทศกาลสงกรานต์ของไทย ผ่านพ้นไปด้วยความสำเร็จ ในรอบหลายปีก็ว่าได้ ซึ่งแน่นอนว่า มีแรงหนุน จากการห่างหายไปนาน 3-4 ปี การกลับมาของเทศกาลสาดน้ำ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก จึงได้รับการจับตามอง มากกว่าปีไหนๆ อย่างไรก็ตาม ประเทศข้างบ้านอย่างกัมพูชา ก็ไม่พลาด ที่จะโหนกระแสความโด่งดัง ของเทศกาลสงกรานต์ของไทย เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของประเทศตัวเอง การหันมาใช้ชื่อเดียวกับไทยว่า สงกรานต์ ผสมกับจุดขายเดียวของกัมพูชา อย่างนครวัด จึงทำให้เกิดเทศกาลที่ชื่อ อังกอร์ สงกรานต์ ขึ้นมา แต่ทุกอย่าง ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด บางที กัมพูชา ก็อาจจะไม่สามารถสร้างจุดขายในเรื่องนี้ได้ หากยังใช้วิธีการลอกเลียนแบบจากประเทศอื่นๆ อย่างที่มักทำอยู่ในปัจจุบัน ล่าสุดสื่อเขมรบางแห่งประโคมข่าว โดยอ้างอิงจากการให้สัมภาษณ์ของนายทองคน รัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวของกัมพูชา ว่ามีจำนวนนักท่องเที่ยว ทั้งชาวเขมรและต่างชาติ

 

มากกว่า 13 ล้านคน ที่ได้ออกเดินทางท่องเที่ยว ในช่วงเทศกาลสงกรานต์เขมรในปีนี้ โดยเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพียง 55,691 คนเท่านั้น อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไป การนับจำนวนการเดินทางของนักท่องเที่ยว ตามมาตรฐานสากล จะเป็นการอ้างอิงจำนวนการเข้าพัก ตามสถานที่ต่างๆ เช่นโรงแรม รีสอร์ต หรือที่พักอื่นๆ ซึ่งต้องรายงานตัวเลข ให้กับทางการทราบ และเป็นตัวเลขที่มากกว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจริง อย่างน้อย 2-3 เท่าตัว เช่นเดียวกับที่ประเทศไทยทำเช่นกัน ที่สำคัญ มันคือตัวเลขคนละประเภท กับจำนวนนักท่องเที่ยวจริง ที่เดินทางเข้ามาในประเทศ ตามที่เราเคยนำเสนอในแต่ละเดือน ซึ่งจะเป็นตัวเลขจริง และถ้าลงลึกไปที่จังหวัดเสียมราฐ ซึ่งเป็นที่ตั้งของอุทยานประวัติศาสตร์อังกอร์ จะพบว่า มีการเดินทางของนักท่องเที่ยวทั้งหมด 2.1 ล้านคน เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพียง 13,373 คนเท่านั้น สำหรับทั้ง 3 วัน ซึ่งนักท่องเที่ยวที่เดินเข้าร่วมงานอังกอร์สงกรานต์จริง ไม่มีการรายงานแต่อย่างใด ซึ่งปีที่ผ่านมา ถ้าหากคิดตามสัดส่วน จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงเวลาปกติ นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าสู่กัมพูชา จะเป็นคนไทยถึง 37% สูงที่สุดเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือเวียดนาม และจีน ในอันดับ 2 และ 3 ตามลำดับ จึงไม่ใช่เรื่องแปลก ที่เราแทบจะไม่เห็นนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกในกัมพูชา อย่างไรก็ตาม การเกิดเหตุไฟไหม้บ่อนที่ปอยเปต อาจจะทำให้นักท่องเที่ยวจากไทย ลดน้อยลงไปถนัดตา

ก่อนหน้านี้ ทางรัฐบาลกัมพูชา พยายามโหมข่าว การจัดกิจกรรมเทศกาลอังกอร์สงกรานต์ โดยมีการระบุถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ที่นอกจากจะช่วยประชาสัมพันธ์ในด้านการท่องเที่ยวแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้ชาวกัมพูชายุคใหม่ ได้เข้าใจ รักษา และประชาสัมพันธ์วัฒนธรรม ประเพณี และขนบธรรมเนียมพื้นบ้านของชาติเอาไว้ นอกจากนั้น ยังเป็นการคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของชาติด้วย ซึ่งแน่นอนว่า ในมุมมองของคนไทย ดูเหมือนว่า ชาวกัมพูชาน่าจะสับสนอยู่ไม่น้อย ว่าจริงๆแล้ว อัตลักษณ์ของกัมพูชาที่แท้จริง เป็นอย่างไร เพราะเหมือนจะเปลี่ยนไปตามความนิยมชมชอบ ต่อศิลปวัฒนธรรมของไทยเป็นหลัก ถึงกับทำให้หนุ่มสาวกัมพูชายุคใหม่ ไม่มีใครยอมใส่ชุดประชาชาติอย่างซัมปอตอีกต่อไป แม้ว่าในอดีต ชุดแต่งกายประจำชาติของกัมพูชา จะได้รับอิทธิพลมาจากไทย มาโดยตลอดก็ตาม ซึ่งถ้าจะใช้อัตลักษณ์ของชาติจริงๆ ผู้ใส่ทั้งชายและหญิง ก็ต้องเปลือยท่อนบน ซึ่งถือว่าเป็นชุดซัมปอตดั้งเดิม ตามที่กษัตริย์องค์ด้วง เคยบรรยายเอาไว้เมื่อราว 200 ปีก่อน ก่อนที่จะมีการนำชุดไทยจากสยาม มาเผยแพร่ในภายหลัง เป็นการทดแทน

เราจะมาดูกันว่า อะไรที่เป็นสาเหตุ ที่ทำให้งานอังกอร์สงกรานต์ล้มเหลว และไม่สามารถเป็นเทศกาล ที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาตืได้ อย่างน้อยก็อีกหลายปีข้างหน้า หากยังใช้วิธีการเดิมๆ ด้วยการพยายามที่จะเป็นไทย อย่างที่มักจะทำกับทุกสิ่งทุกอย่าง ตามที่เห็นในปัจจุบัน

1. การลอกเลียนแบบด้วยชื่อใหม่ ว่าสงกรานต์ ทำให้ไม่มีเรื่องราวให้เป็นที่จดจำ นอกจากความสับสนที่เกิดขึ้น แถมยังเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า สานกรานตะ แม้ว่าในภาษาเขมร จะออกเสียงเป็นสงกรานต์เหมือนของไทยก็ตาม การเปลี่ยนชื่อเดิมไปเป็นชื่อใหม่ เหมือนเป็นการดูถูกความเป็นตัวตนของชาติตัวเอง และยังทำขึ้นในยุคที่ทุกคนในโลก สามารถตรวจสอบที่มาที่ไปได้ เพียงปลายนิ้ว ถือว่าเป็นการด้อยค่า ในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่โดยไม่รู้ตัว แม้ว่าประเพณีปีใหม่ และการสาดน้ำ จะเป็นมรดกที่มีสืบทอดกันมา ในบางประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างไทย ลาว พม่า สิบสองปันนาของจีน แต่เชื่อว่า สำหรับกัมพูชาแล้ว ประเพณีนี้ ได้รับการถ่ายทอดมาจากไทย ในฐานะประเทศผู้ปกครองมานานหลายร้อยปี ยิ่งเทศกาลเล่นสาดน้ำในยุคใหม่ ปฏิเสธไม่ได้ว่า ไทยเป็นต้นแบบของประเทศในย่านนี้ก็ว่าได้ ซึ่งเป็นความบันเทิง ที่ต่อยอดมาจากการสรงน้ำพระ และการรดน้ำดำหัว การใช้ชื่อสงกรานต์เหมือนกับของไทย ก็เป็นเหมือนการยื่นข้อเสนอให้นักท่องเที่ยวได้เลือกว่า จะเลือกต้นฉบับ หรือของเลียนแบบ จะเลือกงานใหญ่ หรืองานเล็ก ที่ไม่มีอะไรน่าสนใจ

2.สถานที่ และบรรยากาศของงาน ที่ไม่สอดคล้องหรือไปในแนวทางเดียวกัน งานสงกรานต์ในความคิดแรกของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ก็คือการเล่นสาดน้ำที่เต็มไปด้วยความสนุกสนาน ซึ่งช่วยสร้างบรรยากาศขึ้นมาตามสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะพื้นที่ ที่มีการสัญจรของคนจำนวนมาก เช่น ทางเดินข้างถนนเส้นหลัก ลานกิจกรรมที่มีคนพลุกพล่าน สถานบันเทิงต่างๆ แต่การจัดงานหน้าโบราณสถาน อย่างนครวัดก็เป็นเหมือนการจัดประกวดการเต้น K-POP ต่อหน้าอาจารย์นาฎศิลป์ มันเป็นเรื่องของการผิดที่ ผิดกาลเทสะก็ว่าได้ แต่ด้วยวิธีการเดิมๆ ที่คิดว่าได้ผล งานนี้รัฐบาลกัมพูชา จึงเหมือนพยายามเอาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ไปสร้างความบันเทิง บางทีงานนี้อาจจะคิดเองทำเอง โดยข้าราชการประจำ ไม่มีการจ้างที่ปรึกษาทางการตลาดในการจัดงาน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *